วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เริ่มต้นการเขียนบทความ

basic-content

บทความนี้ผมจึงจะเล่าถึงวิธีเขียนบทความใน Blogger เพื่อเป็นแนวทางให้คุณสามารถเขียนบทความลงในบล็อกของคุณได้สวยงามและเป็นมือ อาชีพมากขึ้น
สำหรับท่านที่เขียนบทความเป็น อยู่แล้วอาจจะข้ามไปอ่านบทความอื่น ๆ ต่อไปได้เลยครับ ส่วนท่านที่เป็นมือใหม่จริง ๆ ก็ควรจะอ่านบทความนี้ให้จบเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบทความของคุณเองต่อไป

1. การเข้าไปเขียนบทความ

การเข้าไปเขียนบทความบน Blogger สามารถเข้าไปได้ 4 ช่องทางด้วยกันคือ

    1.1 ถ้าคุณใช้แม่แบบที่ไม่ได้ซ่อนแถบนำทางสามารถเข้าไปเขียนบทความได้โดยคลิกที่ เมนู
บทความใหม่

basic-content-1

    1.2 เข้าไปเขียนบทความผ่าน  www.blogger.com

    1.3 เข้าไปเขียนบทความผ่าน  draft.blogger.com

    1.4 เขียนผ่านโปรแกรม Window Live Writer ดูวิธีใช้งาน ที่นี่

2. องค์ประกอบของเครื่องมือเขียนบทความ

วิธีสร้าง content

    ส่วนที่ 1  คือส่วนตั้งชื่อเรื่องหรือชื่อบทความ
    ส่วนที่ 2  เป็นส่วนที่ใช้สำหรับกรณีที่เราต้องการวางข้อความที่คัดลอกมาจาก Ms word  หรือโค้ดวีดีโอจาก Youtube หรือโค้ด HTML/จาวาสคริปต์ที่ต้องการให้ปรากฎและแสดงผลในบทความ
    ส่วนที่ 3 เป็นแถบที่เลือกเมื่อต้องการเขียนข้อความปกติซึ่งจะมีเครื่องมือในการเขียน บทความตามที่เห็นในภาพข้างบน
    ส่วนที่ 4  สำหรับจัดรูปแบบอักษร
    ส่วนที่ 5   เป็นเครื่องมือในการใส่ลิงค์ให้ข้อความ  แทรกภาพลงในบทความ และแทรกวีดีโอลงใน
บทความตามลำดับ   
    ส่วนที่ 6 รูปกระดาษขาดที่เห็นนั้นใช้ในกรณีที่คุณต้องการแสดงบทความให้ผู้อ่านเห็นใน หน้าหลักเพียงบางส่วนเท่านั้น และถ้าใช้เครื่องมือนี้ผู้อ่านจะต้องคลิกอ่านเพิ่มเติมจึงจะเห็นข้อความแบบเต็ม  เครื่องมือนี้มีข้อดีคือทำให้บทความที่มีความยาวมาก ๆ สั้นลงได้ และทำให้เปิดหน้าแรกได้เร็วขึ้นด้วย
    ส่วนที่ 7 เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเรียงข้อความ และจัดแนวรูปภาพได้ด้วย เช่น จัดชิดซ้าย ชิดขวา
กึ่งกลาง เป็นต้น
    ส่วนที่ 8 ได้แก่การใส่ การเน้นข้อความ การลบรูปแบบ การตรวจสอบการสะกดคำ และการแปลภาษา
    ส่วนที่ 9 เป็นส่วนที่ใช้ในการวางกำหนดเวลาล่างหน้าว่าจะให้บทความที่เขียนเผยแพร่ใน วันใด
    ส่วน ที่ 10 เป็นการใส่ป้ายกำกับ ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ระบุว่าบทความที่เขียนนี้อยู่ในหมวดหมู่ใด ซึ่งสามารถใส่ได้มากกว่า 1 ป้ายกำกับโดยคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค และสามารถเลือกป้ายกำกับที่คุณเคยใส่ให้บทความอื่นไปแล้วมาใส่อีกได้ เพื่อทำให้บทความนั้น ๆ อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
    ส่วน ที่ 11 เป็นการเลือกว่าจะบันทึกไว้ก่อน หรือจะเผยแพร่ มีประโยชน์ในกรณีที่บทความที่เขียนใช้เวลาเขียนนานมากก็อาจจะบันทึกเอาไว้ ก่อนแล้วมาเขียนต่อในภายหลังได้  

3. เทคนิคการเขียนบทความที่ควรรู้
   
ในกรณีที่เรามีไฟล์เอกสารจาก MS word แล้วคัดลอกมาวางเพื่อทำให้เขียนบทความได้เร็วขึ้น บางครั้งพบปัญหาข้อผิดพลาดของฟอร์ม (ฟอร์มใน MS word ไม่สามารถแปลงเป็น HTML Code ได้)

สอน วิธีการสร้าง blog

ปัญหานี้แก้ได้ โดยก่อนวางข้อความให้คลิกที่แถบ แก้ไข HTML แล้วจึงวางข้อความที่คัดลอกมาจากนั้นจึงคลิกที่แถบ เขียน เพื่อจัด รูปแบบของบทความต่อไป
เทคนิค ปรับแต่ง blog

เทคนิคนี้ สามารถใช้กับการวางโค้ดวีดีโอ หรือข้อความที่คัดลอกมาจากเว็บไซต์ได้ด้วยครับ Open-mouthed