วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเขียนบทความ

ต่อจากบทความที่แล้ว เมื่อเราสร้างบล็อกและเห็นหน้าตามบล็อกของเราแล้ว ก็ต้องมาทำความรู้จักกับวิธีเขียนบทความ เครื่องมือในการเขียนบทความ ผมคิดว่าเราๆทุกคนสามารถเขียนได้สบายเมื่อเห็นหน้าตาเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนบทความ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า.
การเขียนบทความ
1. ให้เราเข้าไปที่ Blogger >> เลือกบล็อกที่เราจะเขียนบทความ >> จากนั้นเลือก “บทความ”
เขียนบทความ
ก็จะเข้ามาที่หน้าเขียนบทความของบล็อกเกอร์ ดังรูปข้างล่าง
Clip_8
เราจะเห็นว่าเครื่องมือการเขียนบล็อกนั้นคล้ายกับโปรแกรม Microsoft Word (โปรแกรมพิมพ์งาน) โปรแกรมสามัญประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานี่เอง
write-content-4
มาดูกันว่าเครื่องมือในการเขียนบทความของบล็อกเกอร์มีอะไรบ้าง
เครื่องมือ
ชื่อ/การใช้งาน
write-content-5 ปุ่ม เขียน/HTML คือ ปุ่มสลับการเขียนบทความแบบปกติ (พิมพ์ทั่วไป) HTML คือการเขียนแบบใช้ภาษา HTML (ใช้โค้ด)
write-content-6 ปุ่ม เลิกทำ/ทำซ้ำ
write-content-7 ปุ่ม แบบอักษร ใช้เลือกแบบอักษรที่เราจะใช้เขียนบทความ มีให้เลือกเพิ่ม 7 แบบอักษร ดังรูป
write-content-8 ปุ่ม ขนาดอักษร ใช้กำหนดขนาดของอักษร
write-content-9 ปุ่ม รูปแบบ ใช้กำหนดหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยของบทความ (
write-content-10 ปุ่ม ตัวหนา ใช้กำหนดข้อความให้เป็นตัวหนา
write-content-11 ปุ่ม ตัวเอียง ใช้กำหนดข้อความให้เป็นตัวเอียง
write-content-12 ปุ่ม ขีดเส้นใต้ ใช้ขีดเส้นใต้ข้อความ
write-content-13 ปุ่ม ขีดกลาง ใช้ขีดเส้นกลางข้อความ
write-content-14 ปุ่ม สีอักษร ใช้กำหนดสีของข้อความบทความ
write-content-15 ปุ่ม สีพื้นหลังข้อความ ใช้กำหนดสีพื้นหลังของข้อความในบทความ
 write-content-16 ปุ่ม ลิงค์ คือปุ่มใช้กำหนดข้อความให้เป็นลิงค์นำไปสู่หน้าเว็บอื่น จะมีลักษณะการใช้งานตัวอย่างดังรูป

ข้อความที่ปรากฏ : ข้อความที่จะทำลิงค์
เชื่อมโยงไปยัง
ที่อยู่ทางเว็บ : ใส่ URL ที่จะให้ลิงค์ไป
write-content-17 แทรกรูปภาพ/แทรกวิดีโอ เมื่อคลิกแล้วจะมีหน้าต่างดังรูปขึ้นมาให้เราเลือกรูปภาพ/วิดีโอที่ต้องการใส่ในบทความ
write-content-18
write-content-19 ปุ่ม แทรกการข้าม คือการแบ่งบทความ
write-content-20 ปุ่ม จัดเรียง คือการกำหนดบทความว่าจะให้มีรูปแบบการเรียบแบบไหน มีให้เลือก 4 แบบ คือ
- จัดเรียงชิดซ้าย
- จัดกึ่งกลาง
- จัดเรียงชิดขวา
- จัดชิดขอบ
write-content-21 ปุ่ม รายการตัวเลข/รายการลำดับหัวข้อย่อย
ใช้กำหนดลำดับหัวข้อ
write-content-22 ปุ่ม อ้างคำพูด (อัญประกาศ)
write-content-23 ปุ่ม ลบการจัดรูปแบบ
write-content-24 ปุ่ม ตรวจการสะกด
write-content-25 ปุ่ม ให้คำนิยาม / แปลภาษา
write-content-26 ป้ายกำกับ ใช้ ในการกำหนดหมวดหมู่ของบทความ
2. หลังจากรู้จักเครื่องมือในการเขียนบทความของ Blogger แล้ว ก็เริ่มเขียนบทความได้
2.1 ตั้งชื่อบทความ
write-content-2
2.2 เขียนบทความ จัดวางรูปแบบ ตามใจคุณ
write-content-1
2.3 เมื่อเขียนบทความเสร็จสมบูรณ์ แต่ละบทความจะต้องกำหนด “ป้ายกำกับ” คือการกำหนดหมวดหมู่ของบทความนั่นเอง
2.4 เมื่อกำหนดหมวดหมู่บทความแล้ว ก็คลิก “เผยแพร่” เพื่อส่งบทความไปที่บล็อกของเราได้เลย
3. หากอยากเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงของบล็อกคุณ อยากตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ให้คุณเขียนบทความ 3-5 บทความ ให้ใส่รูปภาพ และข้อความ จากนั้นกำหนด “ป้ายกำกับ” ทั้ง 5 บทความให้เหมือนกัน เช่น testblog
pic10
เมื่อคุณโพสบทความของคุณแล้ว ให้เข้าไปดูบล็อกของคุณว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร จากนั้นก็ไปทำตาม บทที่ 4 ได้เลย (การเปลี่ยนเทมเพลทหรือเปลี่ยนหน้าตาบล็อก)
บทที่ 4 บทความต่อไปผมจะพาคุณเปลี่ยน Themplate ของบล็อกเกอร์ (การเปลี่ยนหน้าตาบล็อกนั่นเอง)